ค้นหาอะไรก็เจอ...โดยกูเกิล

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

สงกรานต์ แบบล้านนา หรือ ปาเวณีปีใหม่ ของชาวล้านนาแต่โบราณ เค้าทำอะไรกันบ้าง

ปักตุง

ใกล้ วันสงกรานต์ อีกแล้ว การเดินทางกลับบ้านในวันหยุดยาว เพื่อร่วมมหกรรมแห่งการสาดน้ำ ความสนุกสนานต่าง ๆ กำลังจะเริ่มขึ้น สำหรับหลายคนอาจจะมีความหมายเพียงแค่นั้น แต่จริง ๆ แล้วเทศกาลสงกรานต์ มีความหมายหลากหลาย เช่น การถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ประเพณีรดน้ำดำหัวหัวผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพในวันสงกรานต์ และความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ที่สืบทอดกันมาจากคนรุ่นก่อน แตกกต่างกันออกไปตามแต่ละภูมิภาค เช่น ทางภาคเหนือเรียกเทศกาลสงกรานต์ว่า ปาเวณีปีใหม่


เล่นน้ำ สงกรานต์

เล่นน้ำสงกรานต์

ปาเวณีปีใหม่ ของทางภาคเหนือ หรือชาวล้านนาจะกินเวลาทั้งหมด 5 วัน โดยมีชื่อเรียกวัน ต่างๆ ดังนี้

วันแรก วันสงกรานต์ล่อง หรือ วันสังขารล่อง (วันที่ 13)

วันนี้จะเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาด บ้านเรือน ซักผ้า ปัดผุ่น ใส่เสื้อผ้าใหม่ นำพระพุทธรูปมาทำความสะอาด

เจดีย์ทราย วันสงกรานต์
ทรายถือเป็นสมบัติของวัด ดังนั้นเมื่อถึงช่วงสงกรานต์ เราต้องนำทรายที่เคยติดตัวไปมาคืนครับ

วันที่สอง วันเนา หรือ วันเนาว์ หรือ วันเน่า หรือ วันดา (วันที่ 14)

ในช่วงเช้าก็จะไปซื้อข้าวของเพื่อเตรียมไว้สำหรับวันพญาวัน ช่วงบ่ายก็จะมีการขนทรายเข้าวัด ด้วยความเชื่อที่ว่าเวลาเราเข้าวัด เราได้ขนทรายวัดออกมา อาจจะโดยการติดมากับรองเท้า เสื้อผ้า ทรายที่ติดมาถือเป็นของวัด ดังนั้นในช่วงเทศกาลนี้จึงมีการขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นการคืนทรายให้กับวัด

นอกจากนั้นในวันนี้ก็จะมีการทำอาหาร ขนมสำหรับเตรียมไปทำบุญในวันพญาวัน โดยขนมที่นิยมทำกัน เช่น ขนมปาด ขนมจ็อก ขนมตายลืม ขนมต้มหัวหงอก (ชื่อแปลก ๆ ทั้งนั้นเลยเอาไว้จะมาอธิบายเพิ่มเติมทีหลังครับ)


ขนมปาด
เคี้ยวขนมปาด

ขนมปาด
ขนมปาด


วันที่สาม วันพญาวัน หรือ วันพระญาวัน (วันที่ 15)

วันนี้ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่อย่างแท้จริง ในช่วงเช้าก็จะเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ อุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ นำตุงที่เตรียมไว้ไปปักบนกองทราย หรือ เจดีย์ทรายที่ขนเข้ามา สรงน้ำพระพุธทรูปที่วัด ส่วนช่วงบ่ายก็เป็นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
ปักตุงเจดีย์ทราย

เจดีย์ทราย เชียงใหม่

วันที่สี่ วันปากปี (วันที่ 16)

ถือเป็นวันแรกของปีใหม่ ชาวบ้านก็จะพากันไปดำหัวเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในระแวกใกล้เคียง โดยจะไปกับเป็นขบวน รวมทั้งรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน
ทำบุญตักบาตร

สรงน้ำพระ

วันที่ห้า วันปากเดือน (วันที่ 17)

ถือเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ออกไปจากตัว เพื่อเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความสุขความเจริญ โดยอาจจะทำพิธีที่บ้าน หรือ ที่วัดใกล้เคียง
สะเดาะเคราะห์
ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ส่งท้ายในวันปากเดือน

นอกจากกิจกรรมในแต่ละวันของปาเวณีปีใหม่แล้ว ยังมีความเชื่อต่าง ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับวันต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น วันปากปีต้องกินแกงขนุน เพื่อที่จะได้รับการอุดหนุนไปตลอดทั้งปีใหม่ หรือวันพญาวันควรจะกินลาบเพื่อจะได้มีโชคลาภไปทั้งปี นี่ละครับความหมายของ ปาเวณีปีใหม่ ล้านนา ยังไงเที่ยวสงกรานต์กันสนุกสนานแล้วก็อย่าลืมรักษาขนบธรรมเนีนมประเพณีเหล่านี้ไว้ด้วยนะครับ สงกรานต์ ปีนี้จะได้ทั้งสนุกทั้งได้บุญไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น