บนเส้นทางสายเก่าระหว่าง อ.เมืองเชียงใหม่ และ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่หลายที่ครับ เช่น บ่อสร้างแหล่งผลิตร่ม ในระแวกใกล้เคียงก็มีแหล่งชอปปิ้งเครื่องเงิน ผ้าไหม ของฝากของที่ระลึก หรือเลยไปจนถึงตัว อ.สันกำแพงก็เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ทำจากไม้มะม่วง แต่ก่อนจะถึงตัวอำเภอสันกำแพง มีแหล่งผลิตและจำหน่าย กระดาษสา ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษสา อยู่ที่ บ้านต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
ผมอยากรู้มานานแล้วว่าไอ้เจ้ากระดาษเนี่ยเค้าทำกันยังไง ไม่แน่ใจว่ามีใครอยากรู้แบบผมบ้างหรือป่าว และด้วยความบังเอิญผมรู้จักเพื่อนที่เค้าสามารถพาผมไปดู
ขั้นตอนการทำกระดาษสา ได้ก็เลยถือโอกาสนี้เก็บเรื่องราวการทำกระดาษสา ที่
บ้านต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มาเล่าให้เพื่อนได้เก็บไว้เป็นความรู้รอบตัวเล่น ๆ กันครับ (หรือใครขี้เกียจอ่านก็ไปดูคลิปด้านบนได้เลยครับ)
เริ่มต้นจากวัตถุดิบสำคัญคือ
ปอสา ปอสาก็คือเปลือกของต้นปอสา (พืชในตระกูลเดียวกับต้นหม่อน)
|
ปอสา |
ขั้นตอนคร่าวๆในการทำกระดาษสา มีดังนี้ครับ
1. นำปอสาไปต้มจนนิ่ม โดยในการต้มจะผสมสารฟอกสีได้ด้วย ต้มแล้วปอสาก็จะมีหน้าตาเหมือนรูปด้านล่างนี้ครับ
|
ปอสาที่ต้มจนนิ่ม และฟอกสีแล้ว |
2.หลังจากต้มจนได้ที่ จนปอสานิ่มแล้วก็นำไปปั่นหรือ โม่ เพื่อให้ปอสา ยุ่ยละเอียด โดยใช้เครื่องปั่นหรือเครื่องโม่ และในขั้นตอนนี้เค้าก็ใส่สีของกระดาษที่ต้องการลงไปด้วยครับ
|
เครื่องปั่น หรือเครื่องโม่ ปอสา |
|
ปอสาที่กำลังปั่นอยู่ ในรูปนี้ใส่สีแดงลงได้ด้วย กระดาษที่ได้ก็จะมีสีแดงแบบนี้ละครับ |
3. หลังจากปั่นจนยุ่ยละเอียดได้ที่แล้วก็ตักมาใส่ไว้ในบ่อเพื่อเตรียมช้อนลงในแม่พิมพ์
|
ปอสาที่ยุ่ยละเอียดเมื่ออยู่ในบ่อพัก จะเริ่มตกตะกอน |
|
คนเยื่อสาที่ละเอียดและเริ่มตกตะกอนเพื่อเตรียมช้อนใส่แม่พิมพ์ |
|
แม่พิมพ์ |
4. ปอสา หรือ เยื่อสาที่อยู่ในบ่อพัก นิ่ง ๆ มันก็จะเริ่มตกตะกอนก่อนที่จะช้อนลงในแม่พิมพ์ก็ต้องใช้ไม้ (คล้ายๆ กับไม้พาย) คนให้เยื่อสากระจายตัวซะก่อนครับ จากนั้นก็ใช้แม่พิมพ์ช้อนเยื่อสา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยเทคนิค ความชำนาญในการช้อนเยื่อสา ไม่อย่างนั้นกระดาษอาจมีรู หรือ กระดาษอาจจะหนาหรือบางจนเกินไป
|
นำแม่พิมพ์ลงไปช้อนเยื่อสาในบ่อ |
|
ต้องอาศัยเทคนิคความชำนาญพอสมควรในการช้อนครับไม่งั้นกระดาษ อาจมีรู หนาหรือบางเกินไป |
|
ตรวจสอบความสม่ำเสมอ ของเยื่อบนแม่พิมพ์ |
5.หลังจากช้อนเยื่อสาลงในพิมพ์แล้วก็นำไปผึ่งแดดให้แห้งก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำกระดาษสาแบบ ธรรมดา ส่วนแบบที่มีใส่ลวดลายในเนื้อกระดาษ แบบที่ใส่กลีบดอกไม้ลงไป หรือแบบที่มีหลายสีในแผ่นเดียวกัน เหล่านี้ต้องใช้แม่พิมพ์และขั้นตอนพิเศษครับ ซึ่งเค้าไม่ยอมบอกผมว่าทำไง ความลับทางการค้าครับ เอาเป็นว่าเรารู้กันประมาณนี้ก็พอเอาไปคุยได้ว่ากระดาษสาเค้าทำกันยังไง
ถ้ามีโอกาสมาเที่ยวเชียงใหม่ก็อย่าลืมหาเวลามาเที่ยว
บ้านต้นเปา นะครับ มาดูฝีมือการทำกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษสาสวย ๆ กัน
การเดินทางไปบ้านต้นเปา ให้ใช้ ทล 1006 มุ่งหน้า อ.สันกำแพง ตรงมาเรื่อย ๆ จนผ่านแยกไฟแดงที่ตัดกับ ทล. 121 ผ่านไฟแดงมาไม่นานให้สังเกตุซ้ายมือจะมีป้ายหมู่บ้านต้นเปา เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านต้นเปาตลอดสองข้างทางก็จะเห็นร้านขายกระดาษสามากมายครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น